วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

รูปแบบกราฟแท่งเทียน

รูปแบบของแท่งเทียน (Candlestick Pattern ) มีด้วยกัน 3 รูปแบบคือ

   1.รูปแบบของแท่งเทียนขาขึ้น (Bullish Candlestick Pattern)

   2.รูปแบบของแท่งเทียนขาลง (Bearish Candlestick Pattern)

   3.รูปแบบของแท่งเทียนแบบต่อเนื่อง (Continuous Candlestick Patern)



    รูปแบบกราฟแท่งเทียน ที่พบบ่อยในตลาด
   
      Dark Cloud Cover:  
        
       คือการเกิดแท่งเทียนสีขาวตามด้วยแท่งเทียนสีดำ ราคาเปิดของแท่งสีดำจะเปิดสูงกว่าราคาสูงสุดของแท่งสีขาวและราคาปิดของแท่ง สีดำจะปิดต่ำกว่าจุดกึ่งกลางของแท่งสีดำ รูปแบบนี้เป็นสัญญาณการกลับทิศจากแนวโน้มขาขึ้นกลายเป็นแนวโน้มขาลง (Bearish Reversal Signal)
        แต่ถ้าราคาปิดของแท่งเทียนสีดำ ปิดสูงกว่าจุดกึ่งกลางของแท่งเทียนสีข่าว ให้รอสัญญาณยืนยันของแท่งเทียนสีดำอีกแท่ง ถ้าราคาปิดของแท่งเทียนอีกแท่งปิดต่ำกว่ากึ่งกลางของแท่งสีขาว ก็เป็นสัญญาณการกลับตัวเป็นตลาดขาลง
   
         Doji:  
          เป็นกราฟแท่งเทียนที่มีราคาเปิดและราคาปิดอยู่ในราคาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันมากๆ เราก็ถือว่ากราฟแท่งเทียนนั้นเป็นโดจิ ลักษณะของมันจะคล้าย เครื่องหมาย บวก เครื่องหมาย ลบ กากบาท ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกเรียกว่า โดจิ 
         ถ้าเกิด โดจิ ขึ้นกับกราฟ  นั่นคือสัญญาณบอกว่า ราคากำลังจะเปลี่ยนจากแนวโน้มเดิม โดยทั่วไปแล้ว ถึงแม้จะเกิดโดจิ  ก็ต้องดูแท่งเทียนถัดมาอีกแท่งเพื่อเป็นสัญญาณยืนยันการเปลี่ยนแนวโน้มด้วย
  
          Engulfing Pattern
      
       Engulfing Pattern จะประกอบด้วย รูปแบบคือ Engulfing Bullish และ Engulfing Bearish      
     ในสภาวะที่เป็นตลาดขาลงราคาจะเกิดเป็นแท่งสีดำ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเปลี่ยนแท่ง ราคาจะกระโดดโดยที่ราคาเปิดของแท่งสีขาวจะอยู่ต่ำกว่าราคาปิดของแท่งสีดำ และมีแรงซื้อเข้ามาทำให้ราคาปิดของแท่งสีขาวสูงกว่าราคาสูงสุดของแท่งสีดำ นี่คือ ตลาดกำลังจะกลับตัวจากแนวโน้มลงเป็นแนวโน้มขาขึ้น ลักษณะรูปแบบแท่งเทียนแบบนี้เรียกว่า Engulfing Bullish  และเกิดตรงข้ามกันในลักษณะ  Engulfing bearish
   
    
            Evening Star: 
   
          โดยทั่วไปแล้วรูปแบบแท่งเทียนนี้จะเป็นการกลับตัวของกราฟจากแนวโน้มขาขึ้น กลายเป็นแนวโน้มขาลง โดยรูปแบบนี้จะประกอบด้วยแท่งเทียนสามแท่ง แท่งแรกเป็นแท่งเทียนสีขาวยาวๆ และตามด้วยแท่งเล็กๆ ที่เกิดการกระโดดขึ้นไปอยู่บนยอด (gap) และมีขนาดเล็กๆ ราคาปิดและราคาเปิดของแท่งเทียนที่สองจะอยู๋ใกล้เคียงกัน จากนั้นก็เกิดช่องว่าง(gap)เปลี่ยนเป็นแท่งที่สามเป็นแท่งสีดำยาวๆ นี่คือลักษณะของ Evening Star นอกจาก Evening Star แล้วก็ยังมี Morning Star โดยหลักการก็ตรงกันข้ามกับ Evening Star
   
   
           Hammer: 

         เมื่อตลาดอยู่ในสภาวะขาลงมีแท่งเทียนสีดำลงมาเรื่อยๆ จากนั้นราคาได้ดีดตัวขึ้นจากจุดต่ำสุด โดยลักษณะของแท่งเทียนจะเป็นแบบฆ้อน โดยที่มีราคาปิดจะปิดสูงกว่าราคาต่ำสุดลักษณะนี้เราจะเรียกว่า Hammer  
         Hammer มักจะบอกเราอยู่เสมอว่า ราคากำลังจะเปลี่ยนจากแนวโน้มขาลงกลายเป็นแนวโน้มขาขึ้น
   
  
         Hanging Man: 

          รูปแบบของ Hanging man จะคล้ายกับ Hammer แต่จะเกิดในแนวโน้มขาขึ้น ถ้าเกิด Hanging man กราฟกำลังส่งสัญญาณว่า แนวโน้มกำลังจะเปลี่ยนจากขาขึ้นกลายเป็นขาลง ให้รอสัญญาณยืนยันจากแท่งเทียนขาลงอีกแท่ง
    
         Harami: 

          Harami จะประกอบด้วย รูปแบบคือ Bullish Harami และ Bearish Harami
        
        Bullish Harami   จะประกอบด้วยแท่งเทียนสองแท่ง โดยเกิดแท่งเทียนขาลงสีดำเมื่อแท่งเทียนสีดำปิดตัวลงและแท่งถัดมาทำแท่งเทียนสีขาวเล็กขึ้น โดยแท่งเทียนสีขาวอยู่ระหว่าง Body ของแท่งเทียนสีดำ ลักษณะรูปแบบแท่งเทียนนี้จะบอกการกลับตัวขึ้นจากแนวโน้มขาลง ซึ่งการเกิด Bearish Harami ก็หลักการเดียวกันแต่การเกิดของแท่งเทียนตรงข้ามกันซึ่ง Bearish harami จะบอกถึงจากกลับตัวลงจากแนวโน้มขาขึ้น
  
            
          Morning Star: 

          รูปแบบของแท่งเทียนแบบ morning star จะดูกันแค่ 3 แท่ง รูปแบบนี้เอาไว้ดูการกลับตัวของกราฟจากขาลงเป็นขาขึ้น (Bullish Reversal candle pattern) จะประกอบแท่งเทียนสีดำยาวๆ ซึ่งเป็นแท่งเทียนขาลงและ ตามด้วยแท่งเทียนสั้นๆ ที่เกิด gab ด้วย เมื่อมีแท่งสั้นๆตรงกลางแล้ว ตามด้วย แท่งเทียนสีขาว 
   แท่งเทียนสีขาวที่เกิดขึ้น ราคาปิดของแท่งเทียนสีขาวต้องปิดสูงกว่ากึ่งกลางของแท่งเทียนสีดำ
  
          Piercing Line:

         คือการเกิดแท่งเทียนสีดำ ตามด้วยแท่งเทียนสีขาวที่มีราคาเปิดต่ำกว่าราคาปิดของแท่งเทียนสีดำ แต่แท่งเทียนสีขาวสามารถทำราคาปิดสูงกว่ากึ่งกลางของแท่งเทียนสีดำ รูปแบบนี้เป็นรูปแบบการกลับตัวของกราฟจากแนวโน้มขึ้นเป็นแนวโน้มลง และรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ตรงข้ามกับ  Dark Cloud Cover
   
        Shooting Star

      : รูปแบบนี้จะตรงข้ามกับรูปแบบของ Hammer แท่งเทียนแท่งแรกเป็นแท่งเทียนขาขึ้น และตามด้วยแท่งเทียนที่มีราคาปิดและเปิดอยู่ใกล้ๆกับราคาต่ำสุด รูปแบบนี้จะบ่งบอกเราว่ากราฟกำลังจะเปลี่ยนแนวโน้มจากขาขึ้นมาเป็นแนวโน้มขาลง


                                       
                                          ภาพแสดงตัวอย่างรูปแบบแท่งเทียนแบบต่างๆ




    

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

รูปแบบกราฟราคา


จากภาพข้างต้นคือลักษณะรูปแบบของกราฟกลับตัว



(กราฟลักษณะกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลง)

ตัวอย่างลักษณะกราฟแบบ Double Top 





ตัวอย่างลักษณะกราฟแบบ head &shoulder หัวตั้ง






ตัวอย่างลักษณะกราฟแบบ Double bottom






ตัวอย่างลักษณะกราฟแบบ Head&shoulder หัวกลับ












  
 จากสองภาพข้างต้นคือลักษณะรูปแบบของกราฟต่อเนื่องไปในเทรนเดิม

หลักการดูแนวโน้ม


ลักษณะแนวโน้ม การเคลื่อนตัวของตลาดมีแค่ 3 แบบคือ

     1.      Up trend คือ การวิ่งขึ้น โดยลักษณะ ระยะทางในการวิ่ง วิ่งขึ้น มากกว่าวิ่งลง
     2.      Down trend คือ การวิ่งลง โดยลักษณะ ระยะทางในการวิ่ง วิ่งลง มากกว่าวิ่งขึ้น
     3.      Side way  คือ การวิ่งขึ้นๆ ลงๆ โดยลักษณะ คล้ายฟันปลา ระยะทางไม่ชัดเจน

การสร้างแนวโน้ม
      1.    Up trend  หรือเทรนขึ้น คือการสมมติฐานการวิ่งของราคา โดย กราฟอาจแสดงราคาการเกิดจุดต่ำสุด(จุดS1) และต่อมา ได้แสดงการเกิดจุดต่ำสุดใหม่ที่สูงกว่าจุดต่ำสุดเดิม(จุดS2)  เราก้อสามารถลากเส้นแนวโน้มได้โดยเริ่มจากจุดต่ำสุด(จุดS1) ไปยังจุดต่ำสุดใหม่ที่สูงกว่าจุดต่ำสุดเดิม(R2)     ตัวอย่างดังนี้


        
    2.   Down trend  หรือเทรนลง คือการสมมติฐานการวิ่งของราคา โดย กราฟอาจแสดงราคาการเกิดจุดสูงสุด(จุดR1) และต่อมา ได้แสดงการเกิดจุดสูงสุดใหม่ที่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม(จุดR2)  เราก้อสามารถลากเส้นแนวโน้มได้โดยเริ่มจากจุดสูงสุด(จุดR1) ไปยังจุดสูงสุดใหม่ที่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม(R2)     ตัวอย่างดังนี้



     3.  Sideway หรือการวิ่งขึ้นๆลงๆ ลักษณะปลา ไม่มีที่แนวโน้มที่ชัดเจน เราอาจสมมติฐานได้ว่า เกิดจากการพักตัวของราคา ซึ่งอาจมีลักษณะการวิ่งเป็นกรอบไม่ไปทางใดทางหนึ่งอย่างชัดเจน ซึ่งนักลงทุนประเภท trend following จะขาดทุนเมื่อเกิดกราฟลักษณะนี้ ตัวอย่าง


ความหมายของแนวโน้ม

“แนวโน้มคือเพื่อนของคุณ ยกเว้นแต่เมื่อมันวกกลับและจบลง”

นักเล่นหุ้นส่วนใหญ่นั้นมีความเห็นตรงกันว่า พวกเขาชอบที่จะซื้อหุ้นที่แข็งแกร่ง แต่พวกเขากลับให้ความหมายของคำว่า “แข็งแกร่ง” ไม่ตรงกันเท่าไหร่นัก โดยการอ้างอิงจากเว็บไซท์ (พจนานุกรม) ต่างๆนั้นได้ให้ความหมายของมันไว้ดังนี้

มีความแข็งแรง หรือมีพลังมากกว่าทั่วไป หรือมากกว่าที่ได้คาดเอาไว้
- มีศักยภาพ หรือมีอำนาจ หรืออำนาจที่สามารถควบคุมสิ่งต่างๆ
- มีความเหนียวแน่น สามารถที่จะทนทานต่อการถูกกระทำจากสิ่งต่างๆ

               เราจะเห็นได้ว่า จากคำจำกัดความที่นำมาอ้างอิงเหล่านี้นั้น ไม่มีข้อใดเลยที่ดูเหมือนว่าจะเหมาะสมกับเรื่องของตลาดหุ้น, พันธบัตรหรือสัญญาล่วงหน้าต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมสักเท่าไรนัก เนื่องจากตราสารทางการเงินต่างๆนั้นไม่ได้มีกล้ามเนื้อ หรืออำนาจ หรือแม้กระทั่งมีสรีระที่สามารถจับต้องได้ ดังนั้น เมื่อนักเล่นหุ้นพูดถึงความ “แข็งแกร่ง” นั้น พวกเขาอาจกำลังหมายถึงมันในความหมายอื่น โดยสิ่งที่น่าจะเป็นไปได้และเหมาะสมกับความหมายนั้นก็คือคำว่า “แนวโน้มที่เพิ่มขึ้น” นั่นเอง

             การที่เรามักจะชอบใช้คำว่า “แข็งแกร่ง” มากกว่าคำว่า “แนวโน้ม” นั้น บางทีอาจเป็นผลมาจากความรู้สึกคุ้นเคยกับคำว่า “แข็งแกร่ง” จากสิ่งต่างๆมากกว่า แทนที่จะใช้คำว่า “แนวโน้ม” ซึ่งมันช่างดูจะเลือนรางและคลุมเครือเมื่อต้องนึกถึงมัน
“แนวโน้ม” คือ ความเบี่ยงเบน หรือความโน้มเอียงของข้อมูลในกลุ่มข้อมูลหนึ่ง โดยในการที่เราจะวัด “แนวโน้ม” ในทุกๆสิ่งๆทุกๆอย่างนั้น มันคือการอ่านค่า หรือนำเอาข้อมูลล่าสุดหรือปัจจุบัน (Current reading) และข้อมูลที่เป็นอดีตกว่า (Historical reading) มาทำการเปรียบเทียบกัน  

           ซึ่งหากว่าข้อมูลที่เป็นปัจจุบันกว่านั้น มีค่ามากกว่าข้อมูลในอดีต เราก็จะสามารถสรุปได้ว่า “แนวโน้ม” นั้นกำลังอยู่ในขาขึ้น (Up-Trend) แต่หากมันมีค่าน้อยกว่าเราจะสามารถสรุปได้ว่า “แนวโน้ม” นั้นกำลังอยู่ในขาลง (Down-Trend) แต่หากว่ามันมีค่าใกล้เคียงหรือเท่าๆกัน (ซึ่งค่อนข้างเป็นไปได้ยาก) เราก็จะสามารถสรุปได้ว่า “แนวโน้ม” กำลังอยู่ในภาวะเคลื่อนไหวออกด้านข้างนั่นเอง (Sideway)

           
         ทิศทางของแนวโน้มที่เกิดขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการที่เราเลือกใช้ในการวัดและเปรียบเทียบด้วยเช่นกัน โดยในความเป็นจริงแล้ว ตราสารต่างๆนั้นมีการเคลื่อนไหวของมูลค่าอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่รายนาที รายวัน หรือแม้กระทั่งรายปี ผลก็คือ เราจึงเกิดจุดอ้างอิงในอดีตอย่างไม่จำกัดในการที่จะทำการเปรียบเทียบเพื่อหา “แนวโน้ม” ออกมา ดังนั้น เราจึงสามารถที่จะระบุถึง “แนวโน้ม” ที่เกิดขึ้น และทิศทางของมันได้อย่างไม่จำกัดเท่าที่เราต้องการเช่นกัน

              ดังนี้แล้ว คำว่าแนวโน้ม (ที่เป็นมาตรฐาน) จึงไม่ได้มีอยู่จริง เนื่องจากมันมี “แนวโน้ม” อยู่มากมายนับไม่ถ้วน โดยขึ้นอยู่กับว่า เราใช้วิธีการอย่างไรในการที่จะวัดและเปรียบเทียบ “แนวโน้ม” นั้นออกมา โดยคนส่วนใหญ่นั้นก็มักที่จะเลือกวิธีการวัดและเปรียบเทียบที่ตนเองถนัดและเหมาะสมกับตนเอง หรือตรงกับความเชื่อของเขานั่นเอง

        จะเห็นได้ว่า วิธีการต่างๆในการที่จะใช้เพื่อระบุถึง “แนวโน้ม” ออกมานั้น คือการเปรียบเทียบจากจุดที่เราต้องการจะอ้างอิงในอดีต ดังนั้น ทุกๆ “แนวโน้ม” ที่เราวัดได้นั้นจึงเป็นเพียง “อดีต” เท่านั้น และไม่มีสิ่งที่เป็น “ปัจจุบัน” และ เรานั้นไม่มีทางที่จะหา “แนวโน้ม” ที่เป็นปัจจุบันออกมาได้ หรือแม้กระทั่งระบุและให้ความหมายว่า “แนวโน้มปัจจุบัน” (Current Trend) คืออะไร ที่เราทำได้ก็เพียงแค่หา “แนวโน้มของอดีต” (Historical Trend) เท่านั้น

            หนทางเดียวที่เราพอจะสามารถวัดเอา “แนวโน้ม ณ จุดเวลาของปัจจุบัน” (Now Trend) ออกมาได้นั้น คือการนำข้อมูลสองชนิด ซึ่งอยู่ในจุดเวลาเดียวกัน มาหาความแตกต่างระหว่างกันออกมา และเราจะเห็นได้ว่า “การเคลื่อนไหว” (Motion), อัตราความเร็ว (Velocity) และแนวโน้มต่างๆนั้น ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริงในปัจจุบัน เพราะพวกมันไม่สามารถวัดได้จากจุดอ้างอิงเพียงจุดเดียวนั่นเอง เราจึงสามารถสรุปได้ว่า “แนวโน้ม” ที่เกิดขึ้นนั้น ไม่มีอยู่จริงในช่วงขณะของปัจจุบัน และคำว่า “แนวโน้ม” (The Trend) ที่เราพูดถึงกันทั่วๆไปนั้น ไม่ได้มีอยู่จริงๆเลย เพราะเมื่อเราพูดถึงคำว่า “แนวโน้ม” ขึ้นมานั้น เรากำลังพูดจากการที่เรามองย้อนกลับไปในอดีตนั่นเอง

            จำไว้ให้ดีว่า “แนวโน้มปัจจุบัน” (Current Trend) นั้น ไม่ได้มีอยู่จริง และเมื่อเราพูดถึง “แนวโน้ม” ที่เกิดขึ้น เรากำลังพูดจากการวัดและการนิยามความหมายของมันจากตัวของเราเอง
            เมื่อคุณได้เข้าใจมันแล้วว่า “แนวโน้ม” คืออะไร เราจึงจะสามารถที่จะพูดถึงวิธีการที่จะนำมาใช้ระบุหรือคำนวณ และใช้ประโยชน์จาก “แนวโน้ม” ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

เครดิต แมงเม่าคลับดอทคอม

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทเรียนขั้นต้นการวิเคราะห์ทางเทคนิค

1.แนวโน้ม (trend analysis)
2. รูปแบบราคา (price pattern)
3. รูปแบบแท่งเทียน (candle stick pattern)
4. เครื่องมือแสดงสัญญาณ (Indicator)

ลักษณะการลงทุนในตลาดฟอเร็ก

การลงทุนในตลาด Forex นั้น คล้ายกับการเกงกำไร ลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในบ้านเรา นั้นคือ ซื้อมา แล้วก็ขายไป กำไรที่ได้มาจากผลต่างของราคาซื้อ และราคาขาย แค่เปลี่ยนจากการซื้อหุ้น เป็นการซื้อเงินตราสกุลต่าง ๆ นั้นเอง
ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาด Forex นั้นสูงมาก เมื่อเทียบกับการลงทุนในตลาดหุ้น หรือการลงทุนในกองทุน สำหรับผู้ที่พอรู้ หรือติดตามการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน อาจสงสัยว่าการลงทุนในตลาด Forex ซึ่งซื้อขายเงินตราสกุลเงินต่าง ๆ จะให้ผลตอบแทนสูงได้อย่างไร ในเมื่อแต่ละวันอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาของสกุลเงินต่าง ๆ นั้นเปลี่ยนแปลงน้อยมาก (ไม่ถึง 1%) คำตอบอยู่ตรงนี้  สิ่งที่ทำให้ตลาด Forex ให้ผลตอบแทนสูงนั้นคือ ระบบ Leverage ซึ่งเปิดโอกาสผู้ลงทุน สามารถลงทุนและทำกำไรได้เหมือนมีทุน เป็นร้อยเท่าจากทุนจริงที่มีอยู่ และสามารถเลือกทำกำไรได้ทั้งขาขึ้น และขาลง ซึ่งทั้งหมดนี้เหมือนกับการลงทุนใน Gold Future, TFEX หรือ SET50 Future ในบ้านเรานั้นเอง เพียงแต่ว่า สัดส่วน Leverage นั้นสูงกว่ามาก
หลายคนอาจจะสงสัยกับคำว่าผลตอบแทนสูงนั้น สูงขนาดไหน?? เปรียบเทียบให้เห็นภาพมากขึ้น การลงทุนซื้อหุ้นในตลาดทุนเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น โอกาสที่จะได้กำไร 10-20% ใน 1 วันนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเกิดได้บ่อย แต่สำหรับตลาด Forex กำไร 10-20% ต่อ 1 วันนั้นเป็นเรื่องปกติ และธรรมดามาก (บางจังหวะ เพียงแค่ 5-10 นาที ก็สามารถทำกำไร 10-20% ก็เป็นไปได้) จะเห็นได้ว่า ผลตอบแทนนั้นสูงมาก และยั่วยวนกิเลสดีจริง ๆ แต่ ในทางกลับกันก็เป็นการลงทุนที่มีอัตราเสี่ยงสูงมาก (มี 100 ก็หมด 100 ได้ไม่ยาก ในเวลาอันสั้นเช่นกัน) ดังนั้นผู้ที่สนใจ และอยากลองลงทุนในตลาด Forex ก่อนลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อน การลงทุนในตลาด Forex นั้น คล้ายกับการเกงกำไร ลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในบ้านเรา นั้นคือ ซื้อมา แล้วก็ขายไป กำไรที่ได้มาจากผลต่างของราคาซื้อ และราคาขาย แค่เปลี่ยนจากการซื้อหุ้น เป็นการซื้อเงินตราสกุลต่าง ๆ นั้นเองปล. การลงทุนใน forex ในประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายรองรับ

Forex ย่อมาจาก Foreign exchange market

ตลาด Forex (Foreign exchange market) คือตลาดกลางสำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่าง ๆ ทั่วโลก แต่เดิมตลาด Forex นั้นมีไว้สำหรับการซื้อขายในเฉพาะกลุ่ม ธนาคาร สถาบันทางการเงิน หรือหน่วยงานของรัฐ แต่เมื่ออินเตอร์เน็ตเริ่มมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย จึงเริ่มมีการพัฒนาระบบให้คนทั่วไป สามารถเข้ามาซื้อขายในตลาด Forex โดยใช้อินเตอร์เน็ตส่งคำสั่ง ซื้อขาย ผ่านทางโบรกเกอร์ได้
ตลาด Forex นั้นเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มาก มีตลาดใหญ่อยู่ที่ นิวยอร์ค ญี่ปุ่น ยุโรป และ ออสเตรเลีย การที่มีตลาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยแต่ละพื้นที่มีเวลาเหลื่อมกัน ทำให้เสมือนว่าตลาด Forex นั้นเปิด และมีการซื้อขายอยู่ตลอดเวลา ซึ่งถ้าเทียบกับเวลาในประเทศไทยแล้ว ตลาด Forex เปิดทำการตั้งแต่ตี 4 ของเช้าวันจันทร์ จนถึง ตี 4 เช้าวันเสาร์ หรือก็คือ 24 ชม ยกเว้นวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ นั้นเอง ปัจจุบันตลาด Forex นั้นมีมูลค่าการซื้อขายต่อวัน สูงถึงประมาณ 3.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่าทุกตลาดทางการเงินในโลกนี้รวมกัน
           ปัจจุบัน กฎหมายประเทศไทย ยังไม่อนุญาต ให้สถาบันทางการเงิน เปิดบริการเป็นโบรกเกอร์เพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้ามาซื้อขายในตลาด Forex ได้ แต่ในต่างประเทศหลายประเทศ การเข้ามาซื้อขายเงินตราในตลาด Forex ผ่านโบรกเกอร์ เป็นเรื่องที่เปิดกว้าง และสามารถทำได้มาหลายปีแล้ว โดยผู้ลงทุนสามารถทำการซื้อขายได้ ถึงแม้จะมีทุนเริ่มต้นเพียงแค่ 1$ เท่านั้น